4ภัทธรินทร์ เกิดอุดม

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

รูปแบบและโครงสร้างหน้าเว็บไซต์



หน้าเว็บแบบพอดี มีขนาด 1008*701


เว็บแบบแนวนอน มีขนาด1024*768


หน้าเว็บแนวตั้ง1024*756


การจัดวางตำแหน่ง











วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

การสร้างโลโก้



การทำโลโก้คือการใช้รูปทรงเรขาคณิตซึ่งประกอบไปด้วย
วงกลม สามเหลี่ยม ห้าเหลี่ยม ซึ่งใช้วิธีการทำดังนี้
1.โครงสร้างรวมกันและกำหนดรูปร่างขึ้นมาก่อนเอามาจัดเรียงซ้อนกัน
2.ทำการลบออกเพื่อกำหนดที่วางรูปร่างวางทับกันและนำมาลบออกอีกครั้ง
3.คัดเลือกเลือกรูปร่างมาตามที่ต้องการเพียงบางจุด

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

วงจรสี ( Colour Circle)






สีขั้นที่ 1 คือ แม่สี ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงินสีขั้นที่ 2 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่ สีแดง ผสมกับสีเหลือง ได้สี ส้มสีแดง ผสมกับ


สีน้ำเงิน ได้สีม่วงสีเหลือง ผสมกับสีน้ำเงิน ได้สีเขียวสีขั้นที่ 3 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 ผสมกับสีขั้นที่ 2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะได้สีอื่น ๆอีก 6 สี คือสีแดง ผสมกับสีส้ม ได้สี ส้มแดงสีแดง ผสมกับสีม่วง ได้สีม่วงแดงสีเหลือง ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวเหลืองสีน้ำเงิน ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวน้ำเงินสีน้ำเงิน ผสมกับสีม่วง ได้สีม่วงน้ำเงินสีเหลือง ผสมกับสีส้ม ได้สีส้มเหลือง

ระบบสี RGB

ระบบสี RGB เป็นระบบสีของแสง ซึ่งเกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม จะเกิดแถบสีที่เรียกว่า สีรุ้ง ( Spectrum ) ซึ่งแยกสีตามที่สายตามองเห็นได้ 7 สี คือ แดง แสด เหลือง เขียว น้ำเงิน คราม ม่วง ซึ่งเป็นพลังงานอยู่ในรูปของรังสี ที่มีช่วงคลื่นที่สายตา สามารถมองเห็นได้ แสงสีม่วงมีความถี่คลื่นสูงที่สุดคลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่าแสงสีม่วง เรียกว่า อุลตราไวโอเลต ( Ultra Violet ) และคลื่นแสงสีแดง มีความถี่คลื่นต่ำที่สุด คลื่นแสง ที่ต่ำกว่าแสงสีแดงเรียกว่า อินฟราเรด ( InfraRed) คลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่าสีม่วง และต่ำ กว่าสีแดงนั้น สายตาของมนุษย์ไม่สามารถรับได้ และเมื่อศึกษาดูแล้วแสงสีทั้งหมดเกิดจาก แสงสี 3 สี คือ สีแดง ( Red ) สีน้ำเงิน ( Blue)และสีเขียว ( Green )ทั้งสามสีถือเป็นแม่สีของแสง เมื่อนำมาฉายรวมกันจะทำให้เกิดสีใหม่ อีก 3 สี คือ สีแดงมาเจนต้า สีฟ้าไซแอน และสีเหลือง และถ้าฉายแสงสีทั้งหมดรวมกันจะได้แสงสีขาว จากคุณสมบัติของแสงนี้เรา ได้นำมาใช้ประโยชน์ทั่วไป ในการฉายภาพยนตร์ การบันทึกภาพวิดีโอ ภาพโทรทัศน์ การสร้างภาพเพื่อการนำเสนอทางจอคอมพิวเตอร์ และการจัดแสงสีในการแสดง เป็นต้น
ระบบสี CMYK

ระบบสี CMYK เป็นระบบสีชนิดที่เป็นวัตถุ คือสีแดง เหลือง น้ำเงิน แต่ไม่ใช่สีน้ำเงิน ที่เป็นแม่สีวัตถุธาตุ แม่สีในระบบ CMYK เกิดจากการผสมกันของแม่สีของแสง หรือ ระบบสี RGB คือ แสงสีน้ำเงิน + แสงสีเขียว = สีฟ้า (Cyan) แสงสีน้ำเงิน + แสงสีแดง = สีแดง (Magenta) แสงสีแดง + แสงสีเขียว = สีเหลือง (Yellow) สีฟ้า (Cyan) สีแดง (Magenta) สีเหลือง (Yellow) นี้นำมาใช้ในระบบการพิมพ์ และ มีการเพิ่มเติม สีดำเข้าไป เพื่อให้มีน้ำหนักเข้มขึ้นอีก เมื่อรวมสีดำ ( Black = K ) เข้าไป จึงมีสี่สี โดยทั่วไปจึงเรียกระบบการพิมพ์นี้ว่าระบบการพิมพ์สี่สี ( CMYK ) ระบบการพิมพ์สี่ส ี ( CMYK ) เป็นการพิมพ์ภาพในระบบที่ทันสมัยที่สุด และได้ภาพ ใกล้เคียงกับภาพถ่ายมากที่สุด โดยทำการพิมพ์ทีละส ี จากสีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน และสีดำ ถ้ลองใช้แว่นขยายส่องดู ผลงานพิมพ์ชนิดนี้ จะพบว่า จะเกิดจากจุดสีเล็ก ๆ สี่สีอยู่เต็มไปหมด การที่เรามองเห็นภาพมีสีต่าง ๆ นอกเหนือจากสี่สีนี้ เกิดจากการผสมของเม็ดสีเหล่านี้ใน ปริมาณต่าง ๆ คิดเป็น % ของปริมาณเม็ดสี ซึ่งกำหนดเป็น 10-20-30-40-50-60-70-80-90 จนถึง 100 %













การใช้ตัวอักษร




ชุดสีที่เลือก









การใช้ตัวอักษร (TYPOGRAPHY)
นึกว่าตัวอักษร คือ รูปร่าง
TYPEFACES GIVE VOICE TO WORDS
: ตัวอักษรที่จะให้สำเนียงกับคำต่าง ๆ ได้
FONT (TYPEFACES)
: ชุดรูปแบบของตัวอักษร
FONT FAMILIES
: ตระกูลของชุดรูปแบบตัวอักษร

ส่วนประกอบ หรือ ลักษณะ
องค์ประกอบภาษาอังกฤษมี 2 รูปแบบ
1. Serif เป็นตัวอักษรที่มีเชิงหรือฐาน
2. Sans serif เป็นตัวอักษรที่ไม่มีเชิงหรือฐาน

+ ขนาด หน่วย=POINTS (72 points = 1 นิ้ว) ต้องดูรูปแบบของขนาดเป็นหลัก
แบบอักษรที่แตกต่างกัน มีขนาด points เท่ากันไม่จำเป็นต้องมีความสูงเท่ากัน

+ ประเภท
+ Sans serif ไม่มีเชิง เหมาะกับงานแบบกลาง ๆ ไม่ได้ระบุอะไรมาก เช่น font tahoma
+ Serif มีเชิง เหมาะสำหรับพวกที่มีความรู้สึกอลังการ หรูหรา
+ Script Hand - lettered (ลายมือเขียน) เช่น font ที่มีลักษณะที่คลาสสิก โบราณ
+ Dingbat font ที่มีรูปแบบ (ICON)
+ Novelty font ที่เกี่ยวกับ Fiarshion design (ฟอนต์ตกแต่งประดับประดา) font ที่มีรูปลักษณะเฉพาะตัว เช่น พาดหัวเว็บไซต์, ปกหนังสือ, Headline หนังสือ

+ Font การจัดวางตำแหน่ง
+ การผสมอักษร
วิธีที่ 1 ใช้font แบบมีเชิงเป็นหลัก ไม่มีขาเป็นรอง มีเชิง/ไม่มีเชิง โดยเน้นตัวอักษรให้ชัด ๆ เน้นหนา ให้แตกต่างกัน font ต้องเป็นไปได้
วิธีที่ 2 ใช้ฟอนต์แบบไม่มีขาเป็นหลัก มีขาเป็นรอง เน้นชัด ๆ อย่าให้เท่ากัน ไม่มีการเน้น จะทำให้ดูเด่นขึ้น
วิธีที่ 3 ไม่ชัดเจน / ไม่แนะนำ ฟอนต์ของโลโก้ต้องชัดเจน
วิธีที่ 4 ใช้ฟอนต์หลักและรองให้แตกต่างกันชัดเจน เช่น คละคนละ font
วิธีที่ 5 ลองใช้ตัวอักษรหลักและรองไม่ต้องแตกต่างกันมากนัก ต้องดูอารมณ์ด้วย

เว็บไซต์ FONT ที่น่าสนใจ
www.colorblender.com จะมีชุดสีมาใช้ จะมีการเลือกสีให้เหมาะสมกัน
www.Ont.com โหลด font ภาษาไทย
www.T26.com โหลด font ภาษาอังกฤษ